giffariner,giffarine,กิฟฟารีน,กิฟฟารีนตราด,นักธุรกิจกิฟฟารีน,รายได้ดี,ธุรกิจเครือข่าย
 เข้าสู่ระบบ - สมัครสมาชิก  
   Main webboard   »   เรื่องราวน่ารู้
 ย้อนกลับ  |  ตั้งกระทู้ใหม่  
Started by
Topic:   มัทฉะ  (Read: 942 times - Reply: 0 comments)   
เฉลิมพงษ์ (Admin)

Posts: 8 topics
Joined: 6/4/2554

มัทฉะ
« Thread Started on 11/4/2554 22:44:00 IP : 180.180.93.113 »
 

ชาเขียว มีชื่อวิทยาศาสตร์คือ Camellia sinensis ให้ประโยชน์แก่ร่างกายมากมายหลายประการ โดยมีสารสำคัญที่ทำให้เกิดประโยชน์ (Active Health Component) ที่เรียกว่า โพลีฟีนอล (Polyphenols) หรือเรียกกันทั่วไปว่า คาเทชิน (Catechins) ซึ่ง Catechins นี้จะมีปริมาณ 30-40 % ของส่วนที่เป็นของแข็งที่สามารถสกัดได้จากใบชาเขียวแห้ง (อ้างอิงที่ 1)

คาเทชินที่อยู่ในชาเขียว ประกอบไปด้วย Epigallocatechin-3-gallate (EGCG), Epicatechin-3-gallate, Epicatechin, Epigallocatechin, Gallocatechin gallate and Catechin ในทั้งหมดนี้ สารที่มีมากที่สุดคือ Epigallocatechin-3-gallate หรือ  อี จี ซี จี (EGCG)     ขนาดใบชาเขียวแห้ง 1 ซอง (1.5 กรัมต่อซอง) จะให้ EGCG ประมาณ 35 – 110 mg  (อ้างอิงที่ 2)   EGCG นับได้ว่าเป็นสารต้านอนุมูลอิสระจากธรรมชาติ  ที่มีประสิทธิภาพสูงที่สุดในชาเขียว และมีปริมาณมากที่สุด (อ้างอิงที่ 3) มีความแรงของการต้านอนุมูลอิสระมากกว่า วิตามินซี และวิตามินอี 25-100 เท่า การรับประทานชาประมาณ 1 แก้วต่อวัน จะให้สารต้านอนุมูลอิสระมากกว่าการรับประทาน แครอท บรอคเคอรี ผักโขม และสตรอเบอร์รี ในขนาดที่รับประทานในแต่ละมื้อ (อ้างอิงที่ 4) ซึ่งมีงานวิจัยรองรับมากมายถึงประโยชน์ของสารสำคัญตัวนี้ อาทิเช่น
•    ช่วยลดความอ้วน ด้วยกลไกของการกระตุ้นปฏิกิริยาออกซิเดชันของไขมัน (Stimulates Fat Oxidation) มีรายงานวิจัยที่มีข้อมูลสนับสนุนว่า EGCG ช่วยเพิ่มกระบวนการ การเผาผลาญพลังงานของเนื้อเยื่อไขมัน และมีรายงานการทดลองในคนแล้วว่า ช่วยลดความอ้วนได้(อ้างอิงที่ 5-8)  นอกจากนี้ มีงานวิจัยที่ทำในคนไทย โดยแบ่งผู้ที่น้ำหนักเกินเป็นสองกลุ่ม ได้รับสารสกัดชาเขียว และยาปลอม กลุ่มที่ได้รับชาเขียวมีน้ำหนักน้อยกว่า 2.7, 5.1 และ 3.3 ก.ก. ในสัปดาห์ที่ 4, 8  และ 12 ของการวิจัย  ( อ้างอิงที่ 9)
•    ช่วยลดไขมันในเลือด แม้จะลดไขมันในเลือดได้ไม่มากนัก แต่ก็มีงานวิจัยที่ดีรองรับสองงานวิจัย ในงานวิจัยแรก พบว่า เมื่อรับประทานอาหารที่มีไขมันสูงการดื่มชาในปริมาณปานกลางหรือปริมาณมาก ร่วมด้วย จะลดปริมาณ ไขมันในเลือดชนิด ไตรกลีเซอไรด์ลงได้อย่างมีนัยสำคัญ ในช่วง 6 ชั่วโมงหลังทานอาหารและดื่มชา โดยลดการเพิ่มระดับของไขมันชนิด ไตรกลีเซอรไรด์ในเลือดได้ถึง 15.1-28.7% (อ้างอิงที่10)  อีกงานวิจัยพบว่า ผู้ที่ดื่มชาประมาณ สองถ้วยต่อวัน สามารถลดไขมันในเลือดชนิดโคเลสเตอรอลลงได้เล็กน้อย (119.9 เป็น 106.6 มก./ดล.)  แต่ก็มีนัยสำคัญทางคลินิก  (อ้างอิงที่ 11)
•    ช่วยโรคเส้นเลือดอุดตัน มีรายงานวิจัยว่า  สารสำคัญในชาเขียว สามารถลดการหดเกร็งของเส้นเลือดฝอย ลดการเกิดตะกอน (Plaque) ในเส้นเลือดฝอย ทำให้ลดอุบัติการณ์ของโรคกล้ามเนื้อหัวใจตายจากการขาดเลือด (Myocardial Infarction) และอัมพฤกษ์ อัมพาตจากเส้นเลือดตีบตัน (Stroke)  (อ้างอิงที่ 12-16) นอกจากนี้ EGCG ยังเป็นตัวยับยั้งการเกิด การสันดาป Oxidation ของโคเลสเตอรอล  ทำให้ลดการเกิด การสะสมสร้างตะกอน (Plaque) ในเส้นเลือดจากโคเลสเตอรอล ทำให้ลดการเกิด เส้นเลือดแข็งตัวตีบตัน (Atherosclerosis)  และลดอุบัติการณ์ของโรคเส้นเลือดหัวใจตีบ (Coronary Atherosclerosis) (อ้างอิงที่ 17-19)  ในงานวิจัยในสัตว์ทดลองยังลดการเกิดเส้นเลือดในปอดตีบตัน (Pulmonary Thrombosis) อีกด้วย (อ้างอิงที่ 15) ส่งให้เป็นผลดีต่อสุขภาพของหลอดเลือดหัวใจ ไม่นานนี้มีงานวิจัยทางระบาดวิทยาในคนญี่ปุ่น พบว่า ผู้ที่ดื่มชาเขียว จะลดการเกิดโรคเส้นเลือดทางสมองทั้งโรคเส้นโลหิตในสมอง แตก (Cerebral hemorrhage) และเส้นเลือดสมองตีบ  (Cerebral infarction) ได้จริง (อ้างอิงที่ 20)
•    ต่อต้านอนุมูลอิสระ และต่อต้านมะเร็ง (Antioxidant and Anticancer) ชาเขียวมีผลต่อการยับยั้งการเกิดมะเร็งได้หลายชนิดทั้งในคนและสัตว์ เพราะมีฤทธิ์ทางด้านการต้านอนุมูลอิสระอย่างมาก จากการวิเคราะห์งานวิจัยที่เชื่อถือได้ของ Cochrane Database ตีพิมพ์ล่าสุด จำนวน 51 งานวิจัยทั่วโลก แม้จะมีจำนวนงานวิจัยที่จำกัด พบว่าการดื่มชาเขียว ลดอุบัติการณ์เกิดมะเร็งหลายชนิด เช่น  มะเร็งตับ มะเร็งต่อมลูกหมาก มะเร็งปอด มะเร็งกระเพาะปัสสาวะ มะเร็งลำไส้ และมะเร็งตับอ่อน (อ้างอิงที่ 21)

อย่างไรก็ตาม เมื่อกล่าวถึงชาเขียวญี่ปุ่นแล้ว สามารถแบ่งแยกออกได้เป็นหลายเกรด เช่น


•    Gyokuro เป็นชาเขียวญี่ปุ่นที่ถือได้ว่า เป็นชาชั้นสูงที่สุด ซึ่งต้องปลูกภายใต้การดูแลเป็นพิเศษ เป็นใบชาที่ได้จากการปลูกแบบประคบประหงม ภายในร่มก่อนที่จะเก็บเกี่ยว เพื่อให้ได้กลิ่นและรสที่ดีที่สุด ชื่อของ Gyokuro สื่อถึงสีเขียวอ่อนของน้ำชาที่ชงออกมาแล้ว
•    มัทฉะ (Matcha) เป็นชาที่ต้องปลูกภายใต้การดูแลเป็นพิเศษเหมือนกับ Gyokuro กล่าวคือ หลังจากที่ใบชาเริ่มแตกยอดนั้นจะไม่ให้ยอดใบชาถูกแสงแดด ทำให้ชลอการเติบโตของใบชา เป็นผลทำให้ใบชามีสีเขียวเข้มขึ้น มีการสร้างกรดอะมิโนซึ่งทำให้ใบชามีรสหวานขึ้น แล้วเลือกเก็บเกี่ยวเฉพาะใบชาที่ดีที่สุดด้วยมือ หลังจากนั้นแล้วใบชาที่ม้วนงอเป็นปกติ ก็จะถูกจัดเกรดเป็น Gyokuro ส่วนใบชาที่แผ่ออกเป็นใบ ก็จะไปอบ แล้วป่นออกเป็นผง ซึ่งจะเรียกชาส่วนนี้ว่า เทนฉะ (tencha) จากนั้นจะนำไปบดให้เป็นผงละเอียดด้วยครกหิน จนมีลักษณะเป็นผงละเอียดคล้ายแป้ง มีสีเขียวอ่อนๆ ก็จะได้มัทฉะ
•    เซนฉะ (Sencha)  เป็นชาเขียวชนิดที่นิยมดื่มกันทั่วไปในญี่ปุ่น ได้จากใบชาที่แตกยอดครั้งแรก และครั้งที่ 2  เซนชะเป็นชาที่ผลิตและดื่มกันแพร่หลายคิดเป็น 80% ของปริมาณการผลิตชาทั้งประเทศ  
•    โคนะฉะ (Konacha) ผลิตจากใบชาส่วนที่เหลือจากการทำ Gyokuro หรือ เซนฉะ ราคาจะถูกกว่า และนิยมใช้ในร้านขายซูชิ
•    บังฉะ (Bancha)เป็นชาเกรดรองลงมาจากเซนฉะ ได้จากใบชาที่แตกยอดครั้งที่ 3 และครั้งที่ 4 ในช่วงระหว่างฤดูร้อน ถึงฤดูใบไม้ร่วง
นอกจากนี้ยังมีชาอื่นๆอีกมากมาย อาทิเช่น โฮจิฉะ (Hojicha), ฟงมัทซึฉะ (Funmatsucha) ฯลฯ (อ้างอิงที่ 22-24)

ดังนั้นเมื่อพูดถึงมัทฉะแล้ว ก็จะหมายถึงใบชาญี่ปุ่นชั้นดีที่บดละเอียด และเป็นชาที่ถูกนำไปใช้ในพิธีชงชาของประเทศญี่ปุ่น มีพิธีการ อุปกรณ์ และวิธีชงที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว จากข้อมูลกระบวนการผลิตมัทะดังกล่าวมาแล้วนั้น จะเห็นได้ว่า มัทฉะเป็นใบชาบดผง ซึ่งเมื่อนำมาใช้ในพิธีชงชาก็จะใช้ผงมัทฉะมาละลายเลย ดังนั้นการดื่มมัทฉะจึงเป็นการรับประทานใบชาทั้งใบ ต่างจากการดื่มชาแบบอื่นที่จะใช้ใบชาชงกับน้ำร้อน แล้วดื่มเฉพาะน้ำชา ส่วนกากใบชาก็จะถูกทิ้งไป

ปัจจุบันนี้ ได้มีการประยุกต์นำ มัทฉะ มาทำเป็นเครื่องดื่มร้อนปรุงสำเร็จ โดยนำผงมัทฉะมาผสมกับน้ำตาล นม และครีมเทียมบรรจุอยู่ในซอง เวลาจะรับประทาน ให้ชงกับน้ำร้อน คนให้ละลายเข้ากันก็จะได้ชาเขียวมัทฉะชงร้อนที่มีรสชาติของ มัทฉะ ออกเข้ม ขมเล็กน้อย (ขมแบบชา)  ผสมกับความหอมหวานของนม น้ำตาล และครีมเทียม กลายเป็นชาเขียวร้อนที่มีกลิ่นที่หอม รสชาติที่อร่อยเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว และมีตะกอนอยู่บ้างเนื่องจากเป็นการรับประทานใบชาทั้งใบ นับได้ว่าเป็นอีกวิถีทางหนึ่งในการดื่มชาเขียว ที่ง่าย สะดวก ได้ประโยชน์จากชาเขียวทั้งหมด นอกจากนี้ อาจมีการเติมสารอาหารอื่นๆที่มีคุณค่าทางโภชนาการ เช่น ซีลีเนียม ซึ่งตามประกาศสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา เรื่อง การแสดงข้อความกล่าวอ้างเกี่ยวกับหน้าที่ของสารอาหาร อนุญาตให้แสดงข้อความกล่าวอ้างหน้าที่ของซีลีเนียมว่า ซีลีเนียมมีส่วนช่วยในกระบวนการต่อต้านอนุมูลอิสระ (อ้างอิงที่ 25)
อย่างไรก็ตามเนื่องจากมัทฉะ คือชาซึ่งมีคาเฟอีนเป็นองค์ประกอบอยู่  คล้ายกาแฟ จึงมีข้อห้ามข้อควรระวัง เหมือนกาแฟทั่วๆไป เช่นกัน  เนื่องจาก คาเฟอีนจะมีฤทธิ์กระตุ้นประสาทส่วนกลาง และการเต้นของหัวใจ  จึงควรระวัง และห้ามรับประทานในผู้ป่วยไทรอยด์  ในระยะที่มีอาการ ใจสั่น นอนไม่หลับ  แต่เมื่อคุมอาการของไทรอยด์ ได้แล้ว ก็จะรับประทานได้  และไม่เหมาะกับผู้ที่มีปัญหานอนไม่หลับ ใจสั่น รวมถึงผู้ที่ไวต่อคาเฟอีน  และโรคหัวใจเต้นเร็ว หรือผิดจังหวะ ด้วย

เอกสารอ้างอิง :
1.    The Growth Factor, Vol. No. 3 / 03 – Mita (P) No 214 / 04 / 2002 ; A Publication of Roche Vitamins Asia Pacific Pte Ltd.
2.    Catechins in Green Tea, TEAVIGO TM Roche Vitamins Ltd, data on file
3.    Antioxidant chemistry of green tea catechins. Identification of products of the reaction of (-)-epigallocatechin gallate with peroxyl radicals. Chem Res Toxicol. 1999 Apr;12(4):382-6.
4.    http://www.worldconsortium.com/med_studies.htm
5.    TEAVIGO and modulation of obesity, EGCG attenuates body fat accumulation , TEAVIGO TM Roche Vitamins Ltd, data on file
6.    Efficacy of a green tea extract rich in catechin polyphenols and caffeine in increasing 24-h energy expenditure and fat oxidation in humans. Am J Clin Nutr. 1999 Dec;70(6):1040-5.
7.    Green tea and thermogenesis: interactions between catechin-polyphenols, caffeine and sympathetic activity. Int J Obes Relat Metab Disord. 2000 Feb;24(2):252-8.
8.    Anti-obesity effect of tea catechins in humans, J Oleo Sci 2001;50:599-605.
9.    Effectiveness of green tea on weight reduction in obese Thais: A randomized, controlled trial. Physiol Behav. 2008 Feb 27;93(3):486-91. Epub 2007 Oct 18.
10.    Effect of tea catechins on postprandial plasma lipid responses in human subjects. Br J Nutr. 2005 Apr;93(4):543-7.
11.    Effectiveness of moderate green tea consumption on antioxidative status and plasma lipid profile in humans. J Nutr Biochem. 2005 Mar;16(3):144-9
12.    Tea flavonoids and cardiovascular diseases : a review. Crit Rev Food Sci Nutr 1997;37:771-785
13.    Inhibitory effects of purified green tea epicatechins on contraction and proliferation of arterial smooth muscle cells. Acta Pharmacol Sin 2000;21(9):835-840
14.    Tea catechins prevent the development of artherosclerosis in apoprotein E-deficient mice. J Nutr 2001;131:27-32
15.    Antithrombotic activities of green tea catechins and ( - ) – Epigallocatechins Gallate. Thromb Res 1999;96:229-237
16.    Possible contribution of green tea drinking habits to the prevention of stroke. Tohuku J Exp Med 1989;157:337-343
17.    TEAVIGO and cardiovascular health, A potent antioxidant and antiatherogenic agent , TEAVIGO TM Roche Vitamins Ltd, data on file
18.    Tea catechins inhibit cholesterol oxidation accompanying oxidation of low density lipoprotein invitro. Comp Biochem Physiol Part C 2001 Feb;128(2):153-64
19.    Relationship between green tea consumption and the severity of coronary atherosclerosis among Japanese men and women. Ann Epidemiol 2000;10:401-408
20.    Consumption of green and roasted teas and the risk of stroke incidence: results from the Tokamachi-Nakasato cohort study in Japan. Int J Epidemiol. 2008 Oct;37(5):1030-40.
21.    Green tea (Camellia sinensis) for the prevention of cancer. Cochrane Database Syst Rev. 2009 Jul 8;(3):CD005004.
22.    Matcha. From Wikipedia, the free encyclopedia. http://en.wikipedia.org/wiki/Matcha
23.    Green Tea. From Wikipedia, the free encyclopedia. http://en.wikipedia.org/wiki/Green_tea
24.    ชาญี่ปุ่น. โครงการบริการอาคารสถานที่ สถาบันเอเชียตะวันออกศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. http://www.asia.tu.ac.th/ieas/ieas_buiding4.htm
25.    ประกาศสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา เรื่อง การแสดงข้อความกล่าวอ้างเกี่ยวกับหน้าที่ของสารอาหาร

 
   Link to Post - Back to Top

Bookmark and Share

Reply topic :: แสดงความคิดเห็น
ชื่อผู้โพสต์:  เช่น John
ภาพไอคอน:
icon
แปะรูป:
 
รายละเอียด:
Emotion:




Security Code:
Verify Code 
 
   Bookmark and Share
   Main webboard   »   เรื่องราวน่ารู้
 ย้อนกลับ  |  ตั้งกระทู้ใหม่  
Advertising Zone    Close


Online: 1 Visits: 286,827 Today: 16 PageView/Month: 440

ด้วยความปราถนาดีจาก "สยามทูเว็บดอทคอม" และเพื่อป้องกันการเปิดเว็บไซต์เพื่อหลอกลวงขายของ โปรดตรวจสอบร้านค้าให้แน่ใจก่อนตัดสินใจซื้อของทุกครั้งนะคะ    อ่านเพิ่มเติม ...